ตัวห้ำ ตัวเบียน คืออะไร ทำไมควรมีในสวน

ตัวห้ำ – ห้ำหั่น – สัตว์หรือแมลงที่ล่าแมลงและหนอนที่กินพืชเป็นอาหาร
ตัวเบียน – เบียดเบียน – สัตว์หรือแมลงที่เป็นปรสิต เบียดเบียนแมลงและหนอนที่กินพืชเป็นอาหาร

เบียร์เขียนยาวหน่อยนะครับ ค่อยๆ อ่าน เป็นประโยชน์ (ไว้อ่านใส่คลิปมาให้ฟังอีกทีนะครับ)

สาเหตุของการที่ศัตรูพืชทั้งหนอนและแมลงเข้าทำลายสวนของหลายๆ คน เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมี(ปุ๋ยสังเคราะห์)มาเป็นระยะเวลานานจนมีการสะสมส่วนที่เหลือของ N (Nitrogen) กลายเป็นไนเตรทที่ดึงดูดแมลงเลือดสีฟ้าเข้ามา และมีการศึกษาพบว่าการใช้ปุ๋ยสังเคราะห์ (Synthetic Fertilizers) ดึงดูดแมลงศัตรูพืช (แหล่งที่มา Earth Kind Gardening, 1993) และการศึกษาวิจัยหลายชิ้น หลังจากนั้นก็ยืนยันว่าการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ดึงดูดให้โรคและแมลงศัตรูพืชเข้ามารุมทึ้งพืช

เมื่อพืชถูกแมลงศัตรูพืชรบกวน ชาวสวนก็ไปซื้อยาฆ่าแมลงมาใช้ฉีดพ่น ฆ่าทั้งแมลง หนอน ที่เป็นศัตรูกับพืชในแปลง แล้วก็ฆ่าแมลงตัวห้ำตัวเบียนที่เป็นตัวควบคุมปริมาณประชากรของศัตรูพืชของคุณไปซะด้วยเลย แล้วหลังจากนั้นก็ต้องใช้ยาฆ่าแมลงตลอดเป็นวงจรอุบาทว์เรื่อยไปเพราะไม่มียาม ไม่มีผู้พิทักษ์ (ตัวห้ำตัวเบียน) คอยช่วยปกป้องช่วยกำจัดศัตรูพืชให้

การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในทางธรรมชาติ(เกษตรอินทรีย์) เราให้ความสำคัญกับตัวห้ำ-ตัวเบียน มากที่สุดครับ สำหรับคนที่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชก็อยากให้ลองทบทวนค่านิยมดูใหม่ แล้วหันมาหาใช้วิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ หรือ โดยการใช้สารสกัดจากธรรมชาติมาทดแทนสารเคมีอันตรายกัน

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ ตัวห้ำและตัวเบียนกันหน่อยแล้วกันครับ
เริ่มที่ตัวห้ำกันก่อน
ตัวห้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินศัตรูพืชเป็นอาหารครับ ซึ่งแบ่งตัวห้ำออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ครับ

กลุ่มที่เป็นแมลง เช่น แมลงปอ ด้วงเต่า มวน แมลงช้าง แมลงหนีบ เป็นต้น
กลุ่มที่ไม่ใช่แมลง เช่น แมงมุม ไร นก งู มด เป็นต้น

ตัวห้ำ 1 ตัว ตลอดช่วงชีวิตสามารถกินศัตรูพืชได้เป็นจำนวนมาก จึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณศัตรูอย่างยิ่ง

ขอบคุณภาพประกอบ เพื่อประกอบการศึกษา

ขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
มวนเพชฌฆาต มวนพิฆาต ชอบกิน หนอนทุกชนิดและแมลงที่มีลำตัวนุ่ม
แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่าตัวห้ำ ชอบกิน เพลี้ยชนิดต่างๆ ไข่และหนอนศัตรูพืช
ไรตัวห้ำ ชอบกิน ไรศัตรูพืช และเพลี้ยไฟ
แมลงหางหนีบ ชอบกิน เพลี้ยชนิดต่างๆ ไข่ และหนอนศัตรูพืช รวมทั้ง แมลงที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม
ข้อเปรียบเทียบระหว่างการใช้สารเคมีและการใช้ตัวห้ำควบคุมศัตรูพืช

ใช้สารเคมีกำจัดแมลงและหนอน ผลที่ได้
* แก้ปัญหาได้เฉียบพลันแต่ช่วงระยะสั้น ๆ
* สิ้นเปลืองเพราะต้องเสียค่าสารเคมีและค่าจ้างพ่น
* สารเคมีทุกชนิดอันตรายต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม (ตกค้าง สะสม โดยเฉพาะในตัวเราเอง)
* ทำให้แมลงต้านทานสารเคมี(ดื้อยา)และเกิดศัตรูพืชชนิดใหม่ ถึงใช้หลายตัววนกันก็เถอะ

มีตัวห้ำในสวน
* แก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
* ประหยัดไม่ต้องซื้อ (ขยายพันธุ์เอง) ไม่ต้องจ้าง (กินศัตรูพืชในสวนเรา)
* ปลอดภัยเพราะมีอยู่ในธรรมชาติ
* ช่วยให้ธรรมชาติสมดุลไม่มีศัตรูพืชระบาด

ขอบคุณภาพประกอบ เพื่อประกอบการศึกษา

ตัวเบียน ตัวเบียดเบียนตามธรรมชาติของศัตรูพืช
ตัวเบียน สัตว์ที่เบียดเบียนอยู่บนหรืออยู่ในศัตรูพืชเพื่อการขยายพันธุ์และเจริญเติบโต หรืออยู่ด้วยจนครบวงจรชีวิต ทำให้เหยื่ออ่อนแอและตายในที่สุดมีทั้งที่เป็นแมลงและสัตว์อื่นๆ เช่น แตนเบียน และไส้เดือนฝอย เป็นต้น

ตัวเบียนแตกต่างจากตัวห้ำตรงที่สามารถเข้าทำลายศัตรูพืชได้ทุกระยะ เช่น ตัวเบียนไข่ ตัวเบียนหนอน ตัวเบียนดักแด้ ตัวเบียนตัวเต็มวัย ตัวเบียนต้องดำรงชีวิตจนครบวงจรชีวิตในเหยื่อจึงเสาะหาศัตรูพืชเพื่อเป็นแหล่งอาหารและขยายพันธุ์
แม้ตัวเบียนมีความจำเพาะเจาะจงต่อศัตรูพืชแต่ก็เป็นแมลงที่มีมากทั้งชนิดและปริมาณจึงมีบทบาทในการลดปริมาณศัตรูพืชลงอย่างมาก

ตัวอย่างตัวเบียนชนิดต่างๆและเป้าหมายครับ
แตนเบียนไข่ทริคโคแกมม่า ตัวเมียวางไข่ในไข่แมลง
แตนเบียน หนอน ชอนใบส้ม ตัวเมียวางไข่ในหนอน
แตนเบียนมวนลำไย ตัวเมียวางไข่ในมวนลำไย
แตนเบียนหนอนโคทีเชีย ตัวเมียวางไข่ในตัวหนอน
ไส้เดือนฝอยตัวเบียน เข้าไปอาศัยกินและขยายพันธุ์ ปล่อยสารพิษในเหยื่อที่เป็นหนอนชนิดต่างๆ

ขอบคุณภาพประกอบ เพื่อประกอบการศึกษา

วิธีแก้ไขและฟื้นคืนกระบวนการทั้งหมด
หยุดการใช้ปุ๋ยสังเคราะห์(ปุ๋ยเคมี) สารกำจัดวัชพืช สารกำจัดศัตรูพืช เพื่อเปลี่ยนมาเป็นกระบวนการธรรมชาติ (ขั้นตอนนี้ใช้เวลาหน่อย ผลที่จะได้คุ้มค่าแน่นอนครับ)

หันมาใส่ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพแทน ระหว่างการฟื้นคืนนี้ ดินในแปลงที่เคยใช้เคมียังคงมีปุ๋ยสังเคราะห์หลงเหลืออยู่ ซึ่งแน่นอนจะยังมีแมลงศัตรูพืชรบกวนอยู่ได้จากการดึงดูดเข้ามา ให้ใช้วิธีการป้องกันแบบธรรมชาติแทนครับ สูตรหมักไล่แมลง น้ำส้มควันไม้ สารสะเดาหมัก เชื้อบีที บิวเวอเรีย เมธาไรเซียม ฯลฯ

ปลูกพืชสมุนไพรแทรกแซมไว้ระหว่างพืชประธาน เช่น ตะไคร้ ข่า ขิง ไพร กระวาน กระชาย ฯลฯ แมลงจะหนีพืชจำพวกนี้ แถมเก็บขายได้อีกด้วยครับ

สูตรหมักไล่แมลง
น้ำส้มสายชู 1 ขวด + เหล้าขาว 40 ดีกรี 1 ขวด + ยาเส้น 2 กำมือ + ผงพะโล้ 1 ซอง หมักทิ้งไว้ 24 ชม. กรองกากทั้งหมดออก เก็บไว้ใช้
เวลาใช้ ผสม 45 ซีซี( 3 ช้อนโต๊ะ ) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใบ ทุกๆ 7 วัน ช่วงเย็นเพื่อไล่แมลงครับ
ช่วงมีใบอ่อน / แมลงระบาดมาก ใช้ฉีดพ่นถี่ขึ้น 3-5 วัน ครั้ง

เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง (แต่ละสวนใช้เวลาไม่เท่ากันนะครับ ขึ้นอยู่กับสภาพดินเสียมากน้อยแค่ไหน) ดินเริ่มมีหญ้าปกคลุม ดินมีชีวิต มีไส้เดือน มีสัตว์หน้าดิน สัตว์ในดิน มีหยากไย่แมงมุมในสวน นั่นละครับ ตัวห้ำตัวเบียน ยามผู้ดูแลรักษาสวนของคุณได้กลับมาแล้ว ถึงตรงนี้เบียร์ดีใจด้วยครับ แสดงว่า กระบวนการสมดุลธรรมชาติถูกฟื้นคืนมาได้แล้ว

สุดท้ายมาถึงคำถามที่ว่า แล้วถ้าสวนข้างๆ ยังคงทำเกษตรแบบเคมี เราจะเป็นอินทรีย์ได้หรือไม่
ได้สิครับ แน่นอน หลายๆ คนกลัวว่าแมลงศัตรูพืชจะมารุมแทะสวนของเราเพราะไม่ได้ใช้สารเคมีป้องกัน แต่อย่าลืมว่า

1.ใช้ปุ๋ยเคมีดึงดูดแมลงศัตรูพืช

2.เข้าวงจรใช้สารกำจัดศัตรูพืช ตัวห้ำตัวเบียนตายไปด้วย แต่สวนเรามี

3.สวนเราพืชแข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลง สวนเบียร์ไม่เคยฉีดยาเกี่ยวกับแมลงเลย ไม่มีปัญหาใดๆ เลย ผลผลิตก็สวยงาม รสชาติก็ดี ราคาก็ได้สูงกว่าเพราะขายเองได้

สวนมีเฮ จ.จันทบุรี ใช้มีเฮเพียงอย่างเดียว ไม่ใช้สารเคมี ไม่ฉีดเกี่ยวกับแมลง ให้ธรรมชาติสร้างระบบนิเวศด้วยตัวเอง

กระแสอาหารสุขภาพกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความรู้ที่มากขึ้นทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดีกับเรา วันนี้อยู่ที่คุณตัดสินใจว่าจะนำหน้าคนอื่นไปก่อน หรือ ถึงเวลาที่คุณจะต้องเปลี่ยนบ้างแล้วถึงค่อยมาทำตามหลัง เกษตรอินทรีย์คือวิถีที่ยั่งยืนครับ

***โปรดระวังยี่ห้อก็อปปี้ ลอกเลียนแบบชื่อคล้าย ต้อง “มีเฮ” เท่านั้น ไม่มีตัวอักษรอื่นอีก ของแท้ต้นฉบับ

เบียร์ มีเฮ

แค่เปลี่ยน วิธีการ 》》》ผลลัพธ์ก็เปลี่ยนไป
มีเฮต้องการช่วยเกษตรกรไทย มั่งคั่งอย่างยั่งยืน
++++++++++++++++++++++++++++++++

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *