16 ธาตุอาหารที่พืชใช้ มีความสำคัญเท่ากันทุกธาตุ (Part 1)

พืชไม่ได้ตองการธาตุอาหารเฉพาะ N-P-K เท่านั้น

แต่ยังมีธาตุอาหารอื่นๆ สำคัญอีกหลายชนิด

มารู้จักธาตุเหล่านั้นกันดีกว่า ว่ามีธาตุอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

รวบรวมจากบทความ 16 วัน 16 ธาตุ โดย เบียร์ มีเฮ (CEO Meehay น้ำหมักชีวภาพ)

16 วัน 16 ธาตุ Day1
N – Nitrogen ไนโตรเจน (ธาตุหลัก)

ไนโตรเจน เป็นธาตุอโลหะมีอยู่ทั่วไป ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส มีผสมอยู่ในอากาศที่เราหายใจกว่า 78%

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่สามารถขาดไนโตรเจนได้

เพราะเป็นธาตุสำคัญที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีนในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

สำหรับในพืชนั้น ไนโตรเจนทำให้พืชมีสีเขียว ใช้ในการสร้างใบ

หากพืชขาดธาตุไนโตรเจน จะมีใบสีเหลือง ใบมีขนาดเล็ก แคระแกรน ให้ผลผลิตต่ำหรือไม่ให้ผลผลิตเลย

ในธรรมชาติ ไนโตรเจนมีมากในพืชตระกูลถั่ว กระถินทุกชนิด มะขามเทศ พุทรา ก้ามปู ไมยราบ โสนทุกชนิด

16 วัน 16 ธาตุ Day2
P – Phosphorus ฟอสฟอรัส (ธาตุหลัก)

ฟอสฟอรัส มีคุณสมบัติในการทำปฎิกิริยาได้ง่าย จึงไม่พบรูปแบบอิสระในธรรมชาติ

ละลายน้ำยาก พบในหินฟอสเฟต และเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกเซลล

สำหรับในพืชนั้น ฟอสฟอรัสมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของระบบราก

ช่วยให้รากพืชแข็งแรง แผ่กระจายได้ดี ส่งผลให้ลำต้นแข็งแรง

เพราะการมีรากที่ดีส่งผลต่อการดูดซึมแลกเปลี่ยนธาตุต่างๆ

และยังมีผลต่อการออกดอก ออกผล การสร้างเมล็ด หากพืชขาดฟอสฟอรัสระบบรากจะไม่เติบโต

ส่งผลให้ต้นไม่โต ไม่ออกดอก ไม่มีผล และใบแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีม่วงแล้วกลายเป็นสีน้ำตาล

และหลุดร่วงในที่สุด

ในธรรมชาติ ฟอสฟอรัสมีมากในไข่แดง ชะอม กระถิน ผักบุ้งจีน สะระแหน่ มะม่วง

หน่อไม้ฝรั่ง มะระ กล้วย ละมุด เงาะ มะละกอ ลูกยอ

16 วัน 16 ธาตุ Day3
K – Potassium โพแทสเซียม (ธาตุหลัก)

โพแทสเซียม มีคุณสมบัติในการทำปฎิกิริยาได้ง่าย จึงไม่พบรูปแบบอิสระในธรรมชาติ

อยู่ในรูปของสารประกอบเท่านั้น สามารถออกซิไดซ์(ให้ออกซิเจนช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้)

สำหรับในพืชนั้น กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ pyruvate kinase และ 6-phosphofructokinase

ในการสร้างเนื้อผลไม้ การสร้างแป้งของผล และหัว ช่วยให้ผลเติบโตเร็วและมีคุณภาพดี

ทำให้ผลพืชมีสีสัน เพิ่มขนาด และเพิ่มความหวาน ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิ

และยังส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทำให้รากดูดน้ำ และธาตุอาหารได้ดีขึ้น

หากพืชได้รับโพแทสเซียมไม่เพียงพอ จะพบใบเหลืองเป็นแนวและใบแห้งตายเป็นจุดๆ

โดยเฉพาะบริเวณขอบ และปลายใบ ใบม้วนงอ ลำต้นมีปล้องสั้น ลำต้นแคระแกร็น อ่อนแอ หักล้มง่าย

เติบโตช้า ผลและเมล็ดจะสุกไม่เท่ากัน เนื้อยุ่ย มีคุณภาพต่ำ คือ สี ขนาด น้ำหนัก และความหวาน ด้อยลงไป

ในธรรมชาติ โพแทสเซียมมีมากใน ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย

แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง

16 วัน 16 ธาตุ Day4
Ca – Calcium แคลเซียม (ธาตุรอง)

แคลเซียม เป็นธาตุโลหะมีอยู่บนเปลือกโลกในปริมาณมาก (5.4% โดยมวล)

อยู่ในรูปของ CaCO3 (แคลเซียมคาร์บอเนต)

แคลเซียม ถือเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม มนุษย์และสัตว์ต่างๆ

สำหรับในพืชนั้น แคลเซียม ช่วยในการแบ่งเซลล์ ช่วยให้เซลล์พืชทำงานตามปกต

เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างผนังเซลล์ใน middle lamella ช่วยให้ท่อลำเลี้ยงน้ำ(xylem)

และท่ออาหารของพืช(phoem)แข็งแรง ช่วยในการสร้างฮอร์โมนของพื

เช่น ฮอร์โมนไซโตไคนินเพื่อให้เกิดตาดอก

และยังมีผลต่อการผสมเกสร การงอกของเมล็ด

พืชที่ขาดแคลเซียมใบที่เกิดใหม่จะหงิกงอ ตายอดไม่เจริญ

อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ผลแตกและมีคุณภาพไม่ดี

ในธรรมชาติ แคลเซียมมีมากในนม เปลือกหอย เปลือกไข่ ก้างปลา กระดูก ถั่วแดงหลวง ถั่วเหลือง

ถั่วลันเตา งาดำ ยอดแค ใบชะพลู ผักแผว ผักกระเฉด

16 วัน 16 ธาตุ Day5
Mg – Magnesium แมกนีเซียม (ธาตุรอง)

แมกนีเซียม มีสถานะเป็นโลหะ เป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% ของเปลือกโลกโดยน้ำหนัก

มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ และสัตว์ รวมถึงมีความสำคัญต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ของพืช

ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ทำให้สภาพกรดด่างในเซลล์พอเหมาะ

และช่วยในการงอกของเมล็ด หากพืชขาดแมกนีเซียม ใบแก่จะมีสีเหลืองแต่ยกเว้นเส้นใบที่จะมีสีเขียว

ใบจะร่วงหล่นเร็ว ไม่เจริญเติบโต ลำต้นแคะแกรน และเหี่ยวตายในที่สุด

ในธรรมชาติ แมกนีเซียมมีมากในถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง โดโลไมต์ มะไฟ ลูกยอ มะยม

สละ ระกำ ลิ้นจี่ มะไฟ มะเฟือง

16 วัน 16 ธาตุ Day6
S – Sulfur กำมะถัน (ธาตุรอง)

กำมะถัน เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น สามารถพบในรูปแบบที่เป็นผลึกของแข็งสีเหลือง

ในธรรมชาติ พบได้ในรูปธาตุหรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต

กำมะถันเป็นองค์ประกอบในเซลล์พืช สัตว์ และมนุษย์ แต่จะอยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์

เช่น โปรตีน กรดอะมิโนชนิดต่างๆ และ เคราติน (เค-รา-ติน)

กำมะถันในพืชพบมากที่สุดในราก และในส่วนอื่น เช่น ลำต้น ใบ ดอก รวมถึงผลด้วย

และพืชจะใช้กำมะถันมากที่สุดในระยะของการออกดอก โดยเป็นองค์ประกอบในการสังเคราะห์โปรตีน

ช่วยในการแบ่งเซลล์ กระตุ้นการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำมันในพืช 

ส่งเสริมการเกิดปมรากในพืชตระกูลถั่ว กระตุ้นการสร้างเมล็ด และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของลำต้น

หากพืชขาดกำมะถัน ทั้งใบบนและใบล่างจะมีสีเหลืองซีด ต้นอ่อนแอ ลำต้นแคระแกร็น เมล็ดลีบแบน ผลสุกช้า

ในธรรมชาติ กำมะถันมีมากในกระเทียม หอมแดง หอมใหญ่ (หัวและต้น) คึ่นช่าย ผักชี สะตอ ยางมังคุด

เมื่อพืช และสัตว์ตายไปจะเกิดการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ ทำให้กำมะถันถูกปลดปล่อยออกมา

ในรูปของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) จากกระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน

16 วัน 16 ธาตุ Day7
Fe – Ferrum (Iron) เหล็ก (ธาตุเสริม)

เหล็ก เป็นธาตุโลหะและหนึ่งในสี่ธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลก

เหล็กเป็นองค์ประกอบของโปรตีน มีบทบาทในการสังเคราะห์อาหาร ช่วยกระตุ้นกระบวนการหายใจ

ละกระบวนการปรุงอาหารให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์

สำหรับในพืชนั้น เหล็กมีความสำคัญในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ สังเคราะห์แสงและหายใจ

ถ้าพืชขาดเหล็กใบอ่อนจะมีสีขาวซีดในขณะที่ใบแก่ยังเขีย

ในธรรมชาติ เหล็กมีมากในเครื่องในสัตว์ เลือดสัตว์ นมสด ฟักทอง(เนื้อและใบแก่สดๆ) กระถิน พริกสดแก่จัด เผือก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

16 วัน 16 ธาตุ Day8
Cu – Cuprum (Copper) ทองแดง (ธาตุเสริม)

ทองแดง เป็นธาตุโลหะค่อนข้างอ่อน สามารถพบในสภาพบริสุทธิ์โดยธรรมชาติ พบปริมาณไม่มากบนผิวโลก

ทองแดงมีผลต่อพืชทางอ้อมต่อในการสร้างส่วนสีเขียวของพืช เช่น เพิ่มโมเลกุลคลอโรฟิลล์

และป้องกันการทำลายส่วนสีเขียวซึ่งอาจเกิดจากการขาดธาตุไนโตรเจน ช่วยพืชแข็งแรงมีอายุยืนยาวขึ้น

เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในพืช ช่วยในการการหายใจ การใช้โปรตีนและแป้ง

กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด

สำหรับในพืชนั้น หากขาดทองแดง ตายอดจะชะงักและกลายเป็นสีดำ ใบอ่อนเหลือง

และพืชทั้งต้นจะชะงักการเจริญเติบโต

ในธรรมชาติ ทองแดงมีมากในตับ หอยนางรมถั่วที่ยังไม่ขัดสี ผลไม้แห้ง มะม่วง ลูกพรุน กล้วย เห็ด มันแกว

นม เนื้อวัว ไข่ งา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดถั่วลันเตา ถั่วอัลมอนด์ ผักใบเขียว

 

ติดตาม 16 วัน 16 ธาตุ Part 2 ต่อได้…

เบียร์ มีเฮ

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *