16 ธาตุอาหารที่พืชใช้ มีความสำคัญเท่ากันทุกธาตุ (Part 2)

พืชไม่ได้ตองการธาตุอาหารเฉพาะ N-P-K เท่านั้น

แต่ยังมีธาตุอาหารอื่นๆ สำคัญอีกหลายชนิด

มารู้จักธาตุเหล่านั้นกันดีกว่า ว่ามีธาตุอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

รวบรวมจากบทความ 16 วัน 16 ธาตุ โดย เบียร์ มีเฮ (CEO Meehay น้ำหมักชีวภาพ)

16 วัน 16 ธาตุ Day9 
Zn – Zinc สังกะสี (ธาตุเสริม)

สังกะสี เป็นธาตุอโลหะ มีความไวต่อปฏิกิริยาโดยออกซิเจนและธาตุทั่วๆไปพอสมควร

เป็นธาตุที่ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ ต้องการ

สำหรับในพืชนั้น สังกะสีมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช

พืชที่ขาดสังกะสีจะทำให้ปริมาณฮอร์โมนไอ-เอ-เอ (IAA) ที่ตายอดลดลง ทำให้ตายอด ข้อปล้องไม่ขยาย

ใบจึงออกซ้อนกัน และยังทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยหลายชนิด การสร้างสารอาหาร

การสังเคราะห์แสง และสังกะสีก็เกี่ยวข้องกับการสร้างส่วนสีเขียวในพืช

ถ้าขาดสังกะสีใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวๆ ประปรายตามแผ่นใบ

ในขณะที่เส้นใบยังมีสีเขียว รากสั้นไม่เจริญ

ในธรรมชาติ สังกะสีมีมากในแครอท มันเทศ มันแกว หัวไชเท้า ตำลึง หอยนางรม ไข่ นม-ผลิตภัณฑ์นม ถั่วลิสง

16 วัน 16 ธาตุ Day10
Mn – Manganese แมงกานีส (ธาตุเสริม)

แมงกานีส เป็นธาตุโลหะซึ่งมีความสำคัญต่อทั้งพืชและสัตว์ เพราะมีส่วนในการควบคุมเอนไซม์หลายชนิด

สำหรับในพืชนั้น แมงกานีสช่วยในการสังเคราะห์แสงและการทำงานของเอนไซม์บางชนิด

รวมถึงช่วยในการสังเคราะห์เอนไซม์หลายๆชนิดในพืชด้วย เกี่ยวข้องกับการขนย้ายฟอสเฟต

กระตุ้นกระบวนการเมตาบอลิซึมของเหล็กและไนโตรเจนในพืช

เป็นส่วนประกอบของสารที่ช่วยในการสังเคาะห์น้ำตาลและแป้ง

หากพืชขาดแมงกานีส กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชจะลดลง ปริมาณคลอโรฟิลล์ลดลง

แต่ไม่มีผลต่อการหายใจ และการคายน้ำของพืช ใบมีสีเหลืองบริเวณระหว่างเส้นใบ

แต่เส้นใบจะยังคงมีสีเขียวอยู่ ต่อมาเกิดเซลล์ตายตามบริเวณระหว่างเส้นใบ

จนกระทั่งใบแห้งและร่วง การเติบโตช้า ไม่มีการออกดอก และติดผล

อาการขาดแมงกานีสในพืชใบเลี้ยงคู่ พบจุดสีขาวที่เส้นกลางใบอ่อ

ในต้นข้าวจะพบจุดสีเขียวไหม้บริเวณฐานใบ ส่วนในพืชที่มีฝักจะเกิดฟองสีขาวที่ใบเลี้ยง และฝักมีสีซีดลง

ในธรรมชาติ แมงกานีสมีมากในหอยนางรม ตับสัตว์ ไข่แดง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ ข้าวจ้าว แห้ว

แครอท หัวปลี ถั่วลิสง ถั่วอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน มะพร้าว คะน้า กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กล้วย สับปะรด

องุ่น มะกอก ส้ม เชอรี่ แอปเปิ้ล

16 วัน 16 ธาตุ Day11
Mo – Molybdenum โมลิบดีนัม (ธาตุเสริม)

โมลิบดีนัม เป็นธาตุอโลหะที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาเปลี่ยนไนเตรตเป็นไนไตรต์

ทำให้การทำงานของธาตุไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น

ในดินกรดพืชมักแสดงอาการขาดโมลิบดีนัมเสมอ

หากพืชขาดโมลิบดีนัม ใบจะเป็นจุดด่างเป็นดวงๆ ในขณะที่เส้นใบยังเขียวอยู่ 

และจะเกิดใบม้วนเข้าข้างในเมื่อขาดโมลิบดีนัมอย่างรุนแรงปลายและขอบใบจะแห้ง ดอกร่วง

และมีผลแคระแกรน

ในธรรมชาติ โมลิบดีนัมพบได้ในพืชผักใบเขียวต่างๆ ส่วนที่เป็นน้ำในเนื้อพืช และเมล็ดอ่อน

16 วัน 16 ธาตุ Day12
B – Boron โบรอน (ธาตุเสริม)

โบรอน เป็นธาตุกึ่งโลหะ ปรากฏมากในแร่บอแรกซ์(น้ำประสานทอง) ไม่ปรากฏแบบอิสระในธรรมชาติ

โบรอนช่วยส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมและไนโตรเจนได้มากขึ้น ดังนั้นเมื่อพืชต้องการแคลเซียมในปริมาณมาก

ก็จะต้องการโบรอนมากด้วยเช่นกัน ทั้งยังช่วยให้พืชใช้โพแตสเซียมได้มากขึ้น

โบรอน ยังมีบทบาทในการสังเคราะห์แสง การย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ควบคุมการดูดและการคายน้ำของพืช

ในกระบวนการสังเคราะห์อาหาร และเพิ่มคุณภาพของรสชาติ ขนาด และน้ำหนักผล ช่วยในการออกดอกและการผสมเกสร

มีบทบาทสำคัญในการติดผลและการเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล

หากพืชขาดโบรอน ตายอดจะตายและมีตาข้าง แต่ตาข้างก็จะตายอีก ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งและใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา

โค้งและเปราะ เปลือกผลหนา และผลแตกเป็นแผล ผลเล็ก และแข็งผิดปกติ

ในธรรมชาติ โบรอนมีมากในผักบุ้ง ตำลึง ผักกระเฉด กะทกรก หรือพืชเลื้อยต่างๆ

16 วัน 16 ธาตุ Day13
Si – Silicon ซิลิคอน (ซิลิกา) (ธาตุเสริม)

ซิลิคอน เป็นธาตุกึ่งโลหะ มีปริมาณมากบนพื้นผิวโลก ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิกา

ไม่ทำปฏิกิริยาต่อสารเคมีหลายชนิด แต่สามารถเปลี่ยนรูปแบบได้

พืชใช้ซิลิคอนเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ มีผลต่อการเจริญเติบโตของพื

การพัฒนาของราก การเจริญของผล การมีซิลิคอนเข้าเสริมในผนังเซลล์ทำให้ผนังแข็งแรง

จึงมีส่วนลดการรุกรานของแมลงศัตรูพืช

หากพืชขาดซิลิคอน จะแสดงอาการผิดปกติ ผลผลิตลด ใบที่แตกใหม่มีรูปทรงบิดเบี้ยวและเหี่ยวง่าย

ละอองเรณูไม่งอกและไม่ติดผล

ในธรรมชาติ ซิลิคอนมีมากในหินภูเขาไฟ (ภูไมท์) ใบหญ้าคา แกลบดิบ

16 วัน 16 ธาตุ Day14
Na – Sodium โซเดียม (ธาตุเสริม)

โซเดียม เป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ

ไม่พบรูปแบบอิสระในธรรมชาติเนื่องจากโซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง

ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำจนเกิดเปลวไฟได้ ธาตุโซเดียมอิสระจึงต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน

โซเดียมแบบอิสระมีความเป็นพิษสูงมาก โซเดียมที่สิ่งมีชีวิตต่างๆนำมาใช้อยู่ในรูปแบบไอออน

สำหรับในพืชนั้น โซเดียมเกี่ยวข้องกับการสร้าง phosphoenolpyruvate ของพืชที่เป็น

CAM (Crassulacean acid metabolism plant) และ C4 (C4 carbon fixation plant)

เช่น ข้าวโพด สัปปะรด

ในธรรมชาติ โซเดียมมีมากในเกลือแกง

16 วัน 16 ธาตุ Day15
Cl – Chlorine คลอรีน (ธาตุเสริม)

Chlorine มาจาก Chloros ภาษากรีก แปลว่า สีเขียวอ่อน

คลอรีน เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ

และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย

สำหรับในพืชนั้น คลอรีนมีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง ช่วยให้พืชแก่เร็วขึ้น

พืชที่ขาดธาตุคลอรีนจะมีใบซีด เหี่ยว และใบมีสีเหลือง แต่พืชได้รับคลอรีนมาก ขอบใบจะแห้ง ใบเหลืองก่อนกำหนด

ในธรรมชาติคลอรีนอยู่ในรูปของ คลอไรด์ไอออน (chloride ion) หรือเป็นรูปของ เกลือ นั่นเอง

16 วัน 16 ธาตุ Day16
C – Carbon คาร์บอน (ธาตุเสริม)

คาร์บอน ปรากฏในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และเป็นพื้นฐานของอินทรีย์เคมี และคาร์บอนยังมีความน่าสนใจ

คือสามารถทำพันธะกับตัวเอง และธาตุอื่นๆ ได้อีกเป็นจำนวนมาก เป็นสารประกอบประมาณ 10 ล้านชนิด

คาร์บอนเมื่อรวมกับออกซิเจน จะเกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของพืช

เมื่อรวมกับทั้งไฮโดรเจนและออกซิเจน สามารถจะเกิดเป็นสารประกอบได้หลายประเภ

เช่น กรดไขมัน ซึ่งจำเป็นต่อชีวิต และเอสเทอร์ ซึ่งให้รสชาติแก่ผลไม้หลายชนิด

สำหรับในพืชนั้น คาร์บอนสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชอย่างมาก

ซึ่งคาร์บอนจะถูกกักเก็บในรูปของสารประกอบอินทรีย์ ได้แก่ เซลลูโลส แป้ง ไขมัน วิตามิน

และสารอื่นๆที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบทั้งหมด

ในธรรมชาติ คาร์บอนมีผสมอยู่ในอากาศอยู่แล้ว (คาร์บอนไดออกไซด์) 

 

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม 16 วัน 16 ธาตุ

มีเฮ เราจะสาระความรู้ทางการเกษตรชีวภาพ

เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรทุกคน ติดตามได้ในหมวดหมู่ความรู้ทางการเกษตร

 

เบียร์ มีเฮ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *